เมื่อบุคคลภายนอกต้องการผ่านเข้าไปในโครงการหมู่บ้าน การบันทึกข้อมูลผู้มาติดต่อ จึงมีความจำเป็นเรื่องความปลอดภัย แต่จะจัดเก็บอย่างไรให้ไม่กระทบสิทธิ์เจ้าของข้อมูล
การจัดการและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลในหมู่บ้านเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของบุคคลที่มาติดต่อในหมู่บ้าน ซึ่ง SUDO เป็นระบบ ประตูหมู่บ้านอัจฉริยะ ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ และใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- ความโปร่งใสในการเก็บข้อมูล
แจ้งวัตถุประสงค์การเก็บข้อมูล : ผู้เข้ามาติดต่อควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดเจนและโปร่งใส (privacy notice)
- ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
การยินยอม : สามารถอ้างฐานทางกฏหมายในการควบคุมบุคคลเข้าออกเพื่อป้องกันอันตรายเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือการก่อเหตุร้าย
ความยินยอมที่สามารถถอนคืนได้ : เจ้าของข้อมูลควรมีสิทธิในการถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้สามารถแจ้งขอลบข้อมูลส่วนบุคคลได้
- การเก็บและจัดการข้อมูลอย่างปลอดภัย
การเข้ารหัสข้อมูล : ใช้ระบบการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
การป้องกันข้อมูลสูญหาย : จัดทำสำรองข้อมูลและวางแผนป้องกันการสูญหายของข้อมูล
- การเข้าถึงข้อมูลอย่างจำกัด
จำกัดสิทธิ์การเข้าถึง : ให้สิทธิ์เฉพาะบุคคลที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น
- การจัดการข้อมูลที่ไม่จำเป็น
การลบข้อมูลที่ไม่จำเป็น : ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษา ควรได้รับการลบออกจากระบบอย่างเหมาะสม
การเก็บข้อมูลตามระยะเวลาที่กำหนด : เก็บข้อมูลตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือตามความจำเป็นของวัตถุประสงค์การใช้งาน
- การจัดทำและปรับปรุงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายที่ชัดเจนและปรับปรุงได้ : จัดทำและเผยแพร่นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้และปรับปรุงนโยบายตามความจำเป็น
การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในหมู่บ้านของคุณเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัยตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แหล่งที่มาข้อมูลบางส่วนจาก pdpc